สายพานหน้าเครื่อง และ การเช็คสายพานเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำสม่ำเสมอ

by admin

         สายพานหน้าเครื่อง และ การเช็คสายพานเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำสม่ำเสมอ

การเช็คสายพานเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำเสมอ เพราะหากสายพานเกิดขาดขึ้นมากลางทาง หรือในขณะที่ขับรถอยู่ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ และการรู้จักทำความรู้จักข้อมูลและการทำงานของสายพาน

สำหรับเครื่องยนต์ส่วนที่จำเป็นต้องดูแลมีหลายส่วน นอกเหนือจากเรื่องหลักๆ เช่น ของเหลวต่างๆ และสายพานก็สำคัญไม่แพ้กัน ในรถยนต์บางรุ่นก็จะมีทั้งสายพานราวลิ้นหรือที่เรียกกันว่าสายพานไทม์มิ่ง และสายพานหน้าเครื่อง เพราะสายพานมีหน้าที่ถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์เพื่อส่งไปให้อุปกรณ์อื่นทำงาน เช่น ไดชาร์จ ปั๊มน้ำหรือ ปั๊มเพาเวอร์ สายพานไทม์มิ่งและสายพานหน้าเครื่องมีหน้าที่ในการทำงานอยู่คนละส่วน แยกกันอย่างชัดเจน เพราะบางคนยังเข้าใจว่าสายพานทั้ง 2 แบบ คือสายพานตัวเดียวกัน ทั้งที่ความจริงแล้วมันคนละเรื่องกันเลย

สายพานหน้าเครื่อง

มีหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลังที่ได้จากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้าไปขับเคลื่อนชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะต้องทำงานให้กับเครื่องยนต์หรืออำนวยความสะดวกในการขับขี่ เช่น ไดชาร์จ ปั๊มน้ำ หรือ ปั๊มเพาเวอร์ ซึ่งจะมีมู่เล่ย์หน้าเครื่องเป็นตัวส่งกำลังผ่านสายพานไปหมุนอุปกรณ์ เกิดการทำงานของอุปกรณ์ โดยสายพานหน้าเครื่องที่พูดถึงก็มีอยู่ เช่น สายพานเพาเวอร์ สายพานไดชาร์จ

อายุการใช้งานสายพานหน้าเครื่อง

สายพานหน้าเครื่องมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 50,000 กิโลเมตร หรือ 2 – 3 ปี แต่ถ้าไม่มั่นใจก่อนถึงระยะให้เปิดฝากระโปรงหน้าสามารถตรวจเช็คเองได้ เพราะมันอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นชัดเจน เพียงแค่สังเกตดูว่ามีรอยแตกลายงา เนื้อยางแตกเป็นบั้งๆ หรือสายพานมีเส้นด้ายหลุดหลุ่ยออกมามากหรือไม่ ฯลฯ หากมีอาการตามที่กล่าวมา ให้เปลี่ยนใหม่ทันที เพราะหากใช้ต่อไปถ้าสายพานขาดทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสายพานจะใช้งานไม่ได้ทันที อาจทำให้ระบบเสียหายมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย และปัญหาของสายพานที่มักพบเจอได้บ่อยๆ ก็คือเรื่องของเสียงที่ดังเอี๊ยดอ๊าด โดยเฉพาะตอนที่เครื่องยนต์ยังเย็นหรือตอนที่เพิ่งสตาร์ทใหม่ๆ

วิธีแก้ไขก็คือ

การตั้งระยะความตึงของสายพานใหม่และหลังจากตั้งใหม่แล้ว ให้เช็คดูด้วยว่าหากกดสายพานลงไปมันต้องมีความตึง ไม่หย่อนลงไปเหมือนเดิมอีก แต่ในรถใหม่ๆ ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้สายพานเพียง 1 – 2 เส้น คอยทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังชิ้นส่วนต่างๆ ที่กล่าวมา ซึ่งมันสามารถถ่ายทอดกำลังไปยังอุปกรณ์ต่างด้วยเส้นเดียว และง่ายกับการบำรุงรักษา ไม่ต้องปรับตั้งกันบ่อยๆ เหมือนก่อน พูดง่ายๆ คือไม่ต้องปรับตั้งเลยเพราะมีตัวปรับตั้งอัตโนมัติอยู่แล้ว

สุดท้ายนี้หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสายพาน ไม่ว่าจะเส้นไหนก็ควรเช็คเบื้องต้นด้วยตัวเองหรือรีบปรึกษาช่างให้ตรวจเช็คหาสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นรถรับจ้าง รถส่งของ รถโยสาร ที่ใช้งานหนักเป็นประจำ เพราะถ้าวันใดสายพานเกิดขาดขึ้นมา แทนที่จะเสียเงินแค่ค่าสายพานเส้นใหม่ เผลอๆ อาจต้องเสียเงินเพิ่ม เพื่อซ่อมในจุดอื่นที่ได้รับผลกระทบตามไปด้วยก็ได้

You may also like